วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เตยปาหนัน


บทที่  1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญ
                เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมนุษย์เรานั้นไม่ค่อยนิยมที่จะใช้วัสดุที่ทำจากธรรมชาติและผลิตเองภายในประเทศ   เพราะในปัจจุบันมีความทันสมัยมากขึ้นทั้งในเรื่องของใช้และสิ่งต่างๆ   และมีการนำสินค้าเข้ามาจากต่างประเทศ   จึงทำให้มนุษย์เราละทิ้งซึ่งภูมิปัญญาของตนเอง   ซึ่งในการจัดทำโครงงานเรื่องเตยปาหนันเล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ซึ่งภูมิปัญญาของเราเพื่อไม่ให้เกิดการสูญหายไป
   วัตถุประสงค์
     1   เพื่อได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาเตยปาหนัน
     2   เพื่อได้ทราบถึงวิธีการนำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ
              3   เพื่อได้ทราบว่าภูมิปัญญาเตยปาหนันมีความสำคัญกับท้องถิ่นอย่างไร
              4   เพื่อฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
              5  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของภคใต้
              6  เพื่อได้นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่น
      หลักการและทฤษฎี
            ในการแปรรูปเตยปาหนันเพื่อเป็นสิ่งของเครื่องใช้   นั้นจะใช้เตยปาหนันเป็นวัสดุหลักในการ ทำ   เพื่อจะได้สื่อถึงว่าเป็นภูมิปัญญาของเตยปาหนัน

ขอบเขตของโครงงาน
              1 ศึกษาค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ต
              2 สอบถามจากรุ่นพี่ปริญญาตรี
              3  สอบถามจากผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเตยปาหนัน
       สถานที่ดำเนินงาน
ภูมิปัญญา OTOP   ผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน   กลุ่มพัฒนาหัตถกรรมบ้านวังหิน  29   หมู่ที่   6         ตำบลคลองท่อมใต้   อำเภอคลองท่อม   จังหวัดกระบี่
       ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              1  ได้ทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญาเตยปาหนัน
              2  ได้ทราบถึงวิธีการนำมาแปรรูปเป็นสิ่งต่างๆ
              3  ได้ทราบว่าภูมิปัญญาเตยปาหนันมีความสำคัญกับท้องถิ่นอย่างไร
              4   รู้จักการการทำงานร่วมกับผู้อื่น
             5    เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของภคใต้
              6    นำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่น

บทที่  2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
    ประวัติความเป็นมา






ต้นเตยปาหนันชอบขึ้นตามริมหาด ชายทะเล ป่าโกงกาง ลักษณะลำต้นเป็นกอ และแตกกิ่งใบยาวเป็นพุ่ม 
ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามอายุและสภาพดิน สูงประมาณ   5  เมตร

การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน พื้นเมืองที่ทำกันมาแต่โบราณ  และมีทั่วไปในทุกภาคของประเทศ  คำว่า  เครื่องจักสาน  นั้น  โดยทั่วไปมักจะหมายถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นด้วยมือ  โดยวิธี  จัก  สาน  ถัก  และทอ  เป็นหลัก   การเรียกเครื่องจักสาน ว่า  จักสานนั้น  เข้าใจว่าเป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานขึ้น นั่นเอง  เพราะเครื่องจักสานต่างๆ  จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบขึ้นด้วยการจัก  การสาน  และการถัก  หรือการขัดกันของวัสดุที่ผ่านกระบวนการเตรียมด้วยการจัก  เพื่อแปรรูปวัสดุ หรือวัตถุดิบให้สอดคล้องกับการใช้สอยเสียก่อน

จัก   คือ  การนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น  เป็นแฉก  หรือเป็นริ้ว  เพื่อความสะดวกในการสาน  การจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนของการเตรียมวัสดุ ในการทำเครื่องจักสานขั้นแรก  ลักษณะของการจักสาน โดยทั่วไป นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด  ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป  เช่น  วัสดุที่นำมาจักให้เป็นเส้น เป็นริ้ว  นั้น  เป็นไม้ไผ่  หวาย  เตยปาหนัน  มักเรียก ว่า  ตอก   การจักตอก ถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญของการทำเครื่องจักสาน  ผู้ทำเครื่องจักสานจะต้องเตรียมวัสดุที่จะใช้ทำเครื่องจักสานให้สัมพันธ์กับสิ่งที่จะสาน  โดยเฉพาะ วัดสุที่เรียกว่า  ตอก  ผู้สานจะต้องรู้จักเสือกสรรและพิถีพิถัน เพ่อให้ได้วัสดุที่ดี  ซึ่งจะมีผลต่อความคงทน  และความประณีตสวยงามและเครื่องจักสานด้วย
สาน    เป็นขั้นตอนที่สำคัญของการทำเครื่องจักสาน ถัดจากการ จัก  ซึ่งเป็นการเตรียมวัสดุ การสานนั้นถือได้ว่าเป็นขบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์  ที่นำวัสดุธรรมชาติมาทำประโยชน์  โดยใช้ความคิด และฝีมือเป็นหลัก  ซึ่งมีมาช้านานแล้ว  โดยทั่วไปในปัจจุบันยังคงทำกันอยู่ 
กล่าวกันว่า  เทคนิคการสานภาชนะที่ใช้กันอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือทุกวันนี้  ทำกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  ลักษณะของการสานในยุคเริ่มแรก  คงเป็นการสานตามแนวราบโดยวัสดุขัดกันไปมาอย่างง่ายๆ  ตามแบบที่เรียกกันว่า  ลายขัด  ด้วยการยกขึ้นเส้นหนึ่ง และกดลงเส้นหนึ่งให้เกิดการขัดกัน  ซึ่งจะทำให้วัสดุคงรูปต่อกันไปมาเป็นพื้นที่มากๆ  ตามความต้องการ และการสานด้วยลายขัดตามแนวราบนี้เอง มนุษย์ได้พัฒนาการสานภาชนะนั้นอาจเป็นเปลือกผลไม้ หรือเครื่องปั้นดินเผาก็ได้ และเมื่อมนุษย์ได้คิดวิธีการสานภาชนะได้สำเร็จแล้ว  ได้พัฒนาลวดลายในการสานไปด้วย  เพื่อให้ได้ภาชนะที่มีรูปทรงเหมาะสมกับการใช้สอย และเกิดความสวยงามน่าใช้ยิ่ง
                การสานของคนไทยนั้น ถือได้ว่า เป็นความรู้พื้นเมือง  สืบต่อกันมาช้านาน  โดยวิธีการถ่ายทอดให้กันในครอบครัว ชนิดพ่อสอนลูก  โดยมิได้มีการร่ำเรียนกันอย่างจริงจัง  และไม่มีการจดบันทึกเป็นตำหรับตำราแต่อย่างใด  แต่เป็นการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจากชั่วชีวิตคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง ซึ่งบางอย่างอาจคงรูปลักษณะและลวดลายเดิมไว้  แต่บางอย่างก็อาจจะเปลี่ยนรูปทรงและลวดลายไปบ้าง  แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมักจะเปลี่ยนไปอย่างช้าๆ ชนิดค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป
            วิธีการสานอันเป็นขั้นตอนสำคัญมากของการทำเครื่องจักสาน จะมีการสานลวดลายและรูปแบบต่างกัน  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของวัสดุที่ใช้ในการสาน อาจใช้ลายขัดธรรมดาเพื่อให้เกิดความแข็งแรงทนทาน และความสะดวกในการสาน  หรือจะสานภาชนะทีมีตาห่างๆ  เช่น ชะลอม  เข่ง  จะสานด้วยลายเฉลว   แต่โดยหลักใหญ่แล้ว การสานลวดลายทั้งหลายนั้น จะต้องใช้การขัดกันเพื่อให้วัสดุที่ใช้สานนั้นยึดตัวขัดกันคงรูปอยู่ได้เป็นหลัก ไม่ว่าการสานนั้นจะเป็นลายขัดธรรมดาๆ หรือลายสอง ลายสาม  หรือลายอื่นๆ
            การสานเครื่องจักสานโดยทั่วไปแล้ว   อาจจำแนกออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ  ได้ดังนี้
๑.  การสานด้วยวิธีการสอดขัดกัน
๒.  การสานด้วยการสอดขัดกันด้วยเส้นทแยง
๓.  การสานด้วยวิธีขดเป็นวง
วิวัฒนาการของการสานลวดลายเครื่องจักสานเพื่อให้เกิดประโยชน์เหมาะสมกับชนิดและรูปทรงของเครื่องจักสาน  นอกจากการสานลักษณะ ใหญ่ๆ  3  แบบ แล้ว  ยังมีการพัฒนาลวดลายซึ่งดัดแปลงออกไปเพื่อให้เกิดความสวยงามเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น  ลายดอกพิกุล   ลายลูกแก้ว  ลายกระดานหมากรุก  เป็นต้น  วิธีการสานเป็นลวดลายต่างๆ ของเครื่องจักสานนั้นจะขึ้นอยู่กับความนิยมของคนแต่ละท้องถิ่นที่ได้สืบทอดกันมา
ภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก   โดยเฉพาะบริเวณจังหวัด กระบี่  พังงา  ภูเก็ต และระนอง แต่เดิมจะเป็นที่อยู่ของคนพื้นเมืองจำนวนน้อย  เพิ่งจะเป็นชุมชนใหญ่ขึ้นเมื่อพ่อค้าต่างถิ่นเข้ามาขุดหาแร่ธาตุ และทำการค้าเจริญขึ้นภายหลัง แต่ยังอาศัยธัญญาหารจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกอยู่  ดังนั้น สภาพทางภูมิศาสตร์และการประกอบอาชีพของประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกจึงมีความจำเป็นในการใช้เครื่องจักสานน้อยกว่า ฝั่งตะวันออก  จะมีบ้างเป็นเครื่องจักสานที่ทำขึ้นตามแบบของเครื่องจักสานชาวต่างชาติ  โดยเฉพาะชาวจีนนำติดตัวเข้ามาใช้สอย จนกลายเป็นต้นแบบของเครื่องจักสานที่ชาวบ้านทำขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นพวก ตะกร้าหิ้วสานด้วยไม้ไผ่  และภาชนะอื่นๆ  อีกไม่มาก
เครื่องจักสานจากเตยปาหนัน

              
  เครื่องจักสานของภาคใต้ทางด้านชายฝั่งตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักสานเฉพาะถิ่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองอยู่บ้าง ได้แก่  พวกเครื่องจักสานที่สานด้วยใบเตย  ใบลำเจียก  หรือปาหนัน  ซึ่งส่วนมากนิยมสานเสื่อ  สอบ  หรือกระสอบสำหรับใส่ข้าว หรือใส่พืชผลต่างๆ  โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ มีการสานไว้ใช้ในครัวเรือน













                                                                                                   
ภูมิปัญญาแรกเริ่มคือการสานเสื่อ                                                  การพัฒนารูปแบบผลิตภัณต์

จังหวัดกระบี่   มีการสานเสื่อปาหนัน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความประสานกลมกลืนกับประเพณีนิยมของท้องถิ่นและวิธีการสาน ตลอดจนการใช้วัสดุในท้องถิ่นที่ต่างจากเครื่องจักสาน อื่นๆ  มีการสืบทอดภูมิปัญญาการสานมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน และเรียนรู้กันภายในครอบครัว    โดยเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิยมใช้เสื่อในการปูนอน  และนำไปรองนั่งที่สุเหร่า  และใช้เป็นเสื่อปูนอนของคู่บ่าวสาว  ที่จะแต่งงานใหม่  โดยคู่บ่าวสาวจะต้องช่วยกันสานไว้หลายๆ ผืน เพื่อใช้รองแทนที่นอนในสมัยโบราณ    และปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ  จึงได้คิดพัฒนารูปแบบเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นสินค้าของฝากประจำจังหวัดที่มีชื่อเสียงที่สวยงาม ทนทาน ได้แก่ เสื่อปาหนัน   หมอน  กระเป๋า  ซองบุหรี่  หมุกใส่ของเครื่องใช้สอย  เป็นต้น 

เตยปาหนัน

เตยปาหนัน  เป็นพืชตระกูลปาล์ม บางคนรู้จักชื่อทั่วไปว่า  ต้นลำเจียก  จะชอบขึ้นตามริมหาด ชายทะเล  ป่าโกงกาง  ลักษณะลำต้นเป็นกอ และแตกกิ่งใบยาวเป็นพุ่ม  ขนาดเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามอายุและสภาพดิน สูงประมาณ   5  เมตร 
ใบ    ใบเตยปาหนัน จะมีสีเขียวยาว มีรูปพรรณคล้ายกับใบเตยหอม ต่างกันที่ใบเตยปาหนันนั้น จะมีหนามริมใบทั้ง 3 ด้าน  คือ ด้านข้าง 2 ด้านและตรงกลางหลัง นำมาแปรสภาพเป็นตอก ใช้สานเป็นภาชนะต่างๆ ได้
ราก  นำมาใช้ประโยชน์ โดยนำมาต้มกินขับปัสสาวะแก้นิ่วได้
ดอก  นำมาใช้เป็นตอกสานให้เด็กใช้ประดับร่างกาย
ผล   นำมาใช้หั่นเป็นชิ้นๆ  ผสมกับต้นตายปลายเป็น ใช้กรอกให้วัวกิน ทำให้วัวที่เบื่อหญ้ากินหญ้าได้มากขึ้น  
วิธีขยายพันธ์ของเตย  โดยการใช้เมล็ดและหน่อ
ต้นลำเจียก   หรือปาหนัน  เป็นวัสดุที่ใช้ในการทำเครื่องจักสานเฉพาะถิ่นของภาคใต้  มาแต่โบราณ โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลอันดามัน นิยมนำมาสานเป็นเสื่อ สานเป็นกระสอบ และภาชนะอื่นๆ  การสานเสื่อปาหนันในบางท้องถิ่น ได้เข้าไปมีความสัมพันธ์กับขนบธรรมเนียมประเพณีชาวบ้าน เช่น
ใช้เป็นเสื่อสำหรับนำติดตัวไปวัด  ไปสุเหร่า หรือใช้สำหรับรองศพผู้ตายก่อนนำไปฝัง  ใช้เสื่อสำหรับพิธีแต่งงานของบ่าวสาว  โดยเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะช่วยกันไปตัดใบลำเจียก และจะช่วยกันสานเสื่อไว้สำหรับใช้ในงานแต่งงานเป็นจำนวนมาก     โดยเฉพาะการสานเสื่อนั้น ทำสืบต่อกันมาช้านาน เพราะในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง กล่าวถึงเรื่องราวของเสื่อลำเจียก หรือเสื่อปาหนันไว้ เช่น วรรณคดีเรื่อง  
อิเหนา  ตอนหนึ่งว่า
                                พฤกษาสองข้างที่ทางจร                    บ้างระบัดใบอ่อนออกผกา
                        ลมหวนอวนกลิ่น  ดอกปะหนัน                                        คล้ายกับกลิ่นจินตะหรา

เตยปาหนัน เป็นพืชที่อยูในพื้นที่ชุ่มน้ำและป่าชายเลน ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร ใบมีหนาม  นางละมุล  หลีดี ประธานกลุ่มพัฒนาหัตถกรรมบ้านวังหิน ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านการจักสานใบเตยปาหนันมาจากมารดา ครั้งแรกที่ทำได้จักสานเป็นกระสอบ เพื่อใช้ในการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการทำนา และใส่ข้าวสารใช้ในครัวเรือน หลังจากนั้นเมื่อว่างจากการทำนา เห็นว่าต้นเตยปาหนันซึ่งขึ้นอยู่ธรรมชาติ มีจำนวนมาก จึงได้ตัดมาจักสาน และพัฒนารูปแบบเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ
ของครอบครัว
                เนื่องจากใบเตยปาหนันมีความเหนียวกว่าเตยชนิดอื่น ๆ เช่น เสื่อปูนั่ง หมวก หมอน หมุกยา หมุกใส่ของใช้ต่าง ๆ เมื่อนำไปจำหน่ายในงานต่าง ๆ ผู้คนสนใจให้การยอมรับ มีการสั่งทำเป็นจำนวนมาก จึงได้ถ่ายทอดให้เพื่อนบ้าน แม่บ้านที่ว่างจากการทำสวนได้หัดทำและรวมตัวเป็นกลุ่มเพื่อแบ่งงานกันทำและส่งให้ลูกค้าได้ทัน สร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มเป็นอย่างดี เป็นอาชีพเสริมของชาวบ้านในหมู่บ้าน


อัตลักษณ์(เอกลักษณ์) จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
เป็นงานฝีมือ หัตถกรรมท้องถิ่นที่มีความงามและมีศิลปะที่เกิดจากการผสมกลมกลืนของรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเป็นอย่างดี มีความละเอียดและปราณีต
ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ทั้งด้านรูปแบบ สีสัน ลวดลายในการจักสาน
ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย
ใช้วัสดุในท้องถิ่นในการจักสาน สะท้อนให้เห็นคตินิยมของท้องถิ่น ลักษณะวัฒนธรรมการประกอบอาชีพ การดำรงชีพ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น



งานฝีมือ หัตถกรรมท้องถิ่นที่มีความงามและมีศิลปะที่เกิดจากการผสมกลมกลืน
ของรูปทรง โครงสร้าง และลวดลายเป็นอย่างดี มีความละเอียดและประณีต













      

       พัฒนาสีสันตามความต้องการของลูกค้า                       หลากหลายรูปแบบตามประโยชน์การใช้สอย



            มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ







    


     












            OTOP คัดสรร ๔ ดาว                                                                       มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน



               ความสัมพันธ์กับชุมชน
- ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนญาติพี่น้อง อีกทั้งเมื่อจะสร้างเตาเผา ต่างได้สละทรัพย์เพื่อส่วนรวมเพื่อสร้างไว้ใช้ร่วมกัน
- ร่วมกันปลูกทดแทนต้นเตยปาหนันอย่างต่อเนื่อง
- สมาชิกให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อจัดทำแผนชุมชน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง




บทที่  3
วิธีการดำเนินงาน
           วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
                การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้
1ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1  ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาเตยปาหนัน
                                 1.2  ศึกษาวัตถุดิบและส่วนประกอบของการแปรรูปการเตยปาหนัน
2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1 ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องภูมิปัญญาเตยปาหนัน
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเรียนรู้
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล

นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา   และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง




บทที่  4
ผลการศึกษา
         วัตถุดิบและส่วนประกอบ
       1.ใบเตยปาหนัน                ตัดมาจากต้นเตยปาหนันที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติและจากการปลูกเอง
       2. เส้นตอก                        ตอกจากใบเตยปาหนันที่ผ่านขั้นตอน การทำเป็นวัสดุพร้อมที่จะเป็นเสื่อ
                                                 และผลิตภัณฑ์รูปแบบต่าง ๆ
       3. เครื่องรีด                        ใช้สำหรับรีดใบเตย และเส้นตอกเตยให้แบนเรียบและนิ่ม
       4. ไม้กรีด                           ใช้สำหรับกรีดใบเตยดิบให้เป็นเส้นตอก ตามขนาดที่ต้องการหรือเรียกว่า
                                                 ย่าหงาดหรือเล็บแมว
       5. มีด                                 ใช้สำหรับตัดหนามหลังของใบเตยดิบให้เป็น 2 ซีก
       6. กรรไกร                          ใช้สำหรับตัดเส้นตอกใบเตยให้ได้ความยาวที่ต้องการหรือเส้นใยต่าง ๆ
       7. ไม้ขูด                            ใช้สำหรับขูดรีดเส้นตอกขณะกำลังนั่งสานให้เรียบนิ่ม
       8. ไม้ทับ                            ใช้สำหรับเหยียบทับเส้นตอกขณะนั่งสานเป็นผืนเสื่อ   ให้ผืนเสื่อตรงและ
                                                 สานได้ง่ายขึ้น                                
       9. สารเคมี                         ใช้สำหรับย้อมเส้นตอกเตยให้เป็นสีต่าง ๆ ตามต้องการ
      10. เตาถ่าน                        ใช้สำหรับก่อไฟต้มเส้นตอกใบเตยดิบ    และต้มย้อมสีเส้นตอก
      11. กระทะ                           เป็นภาชนะใช้สำหรับต้มน้ำย้อมสีเส้นตอกเตย



                                   



  เครื่องรีดใบเตยและเส้นตอกให้แบนเรียบ                                            ไม้กรีดใบเตยดิบให้เป็นเส้นตอกเรียกว่า ย่าหงาด





                  ภาชนะสำหรับต้มน้ำสีตอกเตย                                                                                 เส้นตอกผ่านการย้อมสีพร้อมจักสาน


        ขั้นตอนการผลิต ( กรณีตัวอย่าง การสานเสื่อ)
             1. ขั้นเตรียมการ (การเตรียมใบเตยให้เป็นเส้นตอก)
1. การเลือกตัดวัตถุดิบจากต้นเตยปาหนัน  จะต้องเลือกใบที่มีขนาดไม่อ่อนและแก่จนเกินไป






2. เมื่อตัดใบเตยได้แล้ว นำมามัดกับเชือกเถาให้เป็นกำ  ตัดโคนใบและตัดปลายให้ได้ใบเตยมีความยาวเสมอกัน เพื่อความสะดวกในการนำกลับไปทำขั้นตอนต่อไป
3. ใบเตยดิบที่ตัดมาจากต้นแล้ว  นำแต่ละใบมากรีดหนามหลังใบออกจะได้ใบเตยเป็น  2  ซีก
      นำไปผึ่งแดดประมาณ   5 -10 นาที ให้พอใบเริ่มเหี่ยว


                    
                     4. นำใบเตยดิบที่ผึ่งแดดแล้วมารีดด้วยเครื่องรีด   ให้แบบเรียบและนิ่ม







5. นำใบเตยที่รีดแล้วมากรีดเป็นต้นตอก   ด้วยอุปกรณ์กรีด เรียกว่า  ย่าหงาด  ตามขนาดที่ต้องการแล้วแยกหนามข้างใบและเส้นตอกเตยออกจากกัน





6.  นำเส้นตอกเตยมารีดด้วยเครื่องรีดอีกครั้ง  และรวบรวมเป็นกำผูกมัดด้วยเชือกให้เป็นก้อน ขนาดพอประมาณ



              7.  นำเส้นตอกเตยที่มัดเป็นกำหรือก้อนแล้วไปต้มในน้ำที่เดือด   ประมาณ 3- 5 นาที



 8. นำเส้นตอกเตยที่ผ่านการต้มแล้วไปแช่น้ำเปล่า โดยนำของหนักไปทับให้ตอกเตยจมอยู่ใน้ำ แช่ไว้ประมาณ 2  คืน  จะทำให้สีเขียวของเตยละลายปนอยู่กับน้ำจะได้เส้นตอกเตยสีขาวเหลือง





9. น้ำเส้นตอกเตยที่แช่น้ำไว้   ประมาณ    คืน มาตากแดดให้แห้งประมาณ   1  วัน
10. จะได้เส้นตอกเตยที่ตากแดดแห้งแล้วเป็นสีขาวนวล  รวบรวมมัดเป็นกำให้มีขนาดและความยาวเท่าๆ กัน  เก็บไว้ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก จะทำให้เส้นตอกเตยไม่อับชื่น  จะเป็นเส้นตอกเตยปาหนันที่พร้อมจะใช้สานเป็นอุปกรณ์ต่างๆ  ได้  ที่มีสีนวลเป็นสีธรรมชาติ หรือสานเป็นภาชนะต่างๆ   ที่ต้องการได้



หากต้องการเสื่อ หรือภาชนะที่มีสีสันสวยงาม จะต้องนำเส้นตอกเตยมาย้อมสี ด้วยสีเคมี จะได้เส้นตอกเตยที่มีสีต่างๆ ตามที่ต้องการ

    2. ขั้นตอนการย้อมสี
                1. นำสีเคมีที่จะย้อมมาผสมกับน้ำละลายในอัตราส่วนที่ต้องการสำหรับการย้อม ใส่ในกระทะสำหรับย้อมสี
                2. นำกะทะไปตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด
                3.  นำเส้นตอกเตยแห้งมัดเป็นกำ ไปแช่น้ำให้เปียกทั่วทุกเส้นและเพื่อชำระสิ่งสกปรกอันจะเป็นอุปสรรคต่อการย้อมสีได้ แล้วผึ่งให้น้ำสะเด็ดแห้งพอหมาด




                            4.  น้ำตอกเตยที่แห้งพอหมาดๆ ใส่ในกะทะย้อมสี คนให้เส้นตอกเตยติดสีให้ทั่วทุกเส้น ประมาณ 3 - 5  นาที                    
              5.  นำใบเตยที่ผ่านการย้อมแล้วไปแช่ด้วยน้ำเย็น ชำระล้าง  2 - 3 ครั้ง ให้น้ำสีออกหมดเป็นน้ำใสสะอาด แล้วจึงนำไปผึ่งตากแดดให้แห้ง  ประมาณ  1  วัน


































จะได้เส้นตอกใบเตยที่ผ่านการย้อมสี เป็นสีต่างๆ ตามที่ต้องการ ที่พร้อมจะใช้งาน สานเป็นเสื่อหรือสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ

   

                3.  ขั้นการผลิต  (สานเป็นเสื่อ)



                 1.  สถานที่สานภายในบ้านหรือชานเรือนหน้าบ้านที่เป็นพื้นเรียบ
       2.  นำเส้นตอกเตยมารีดด้วยเครื่องรีดให้เรียบและนิ่มให้พอประมาณสำหรับการใช้งาน
       3.  รวบรวมเส้นตอกเตยที่ผ่านการรีดแล้วจับเป็นกำให้มีความยาวเท่ากันแล้วพับกึ่งกลาง
       4. การนั่งสานด้วยท่านั่งขัดสมาธิหรือ นั่งชันเขาข้างเดียวตามถนัด  โดยเริ่มสานจากกึ่งกลางของเส้นตอกที่พับไว้แล้ว   นำเส้นตอก   2   เส้นมาสานเป็นลายขัดหรือเรียกว่าลายหนึ่ง   โดยนำเส้นตอกมาขัดยกหนึ่งข่มหนึ่งไปเรื่อยๆ  จนหมดเส้นตอกหรือได้ความยาวของเสื่อที่ต้องการ แล้วตกแต่งริมเก็บขอบให้สวยงาม   จะได้เป็นผืนเสื่อที่ต้องการ  






        5. การเก็บขอบ หรือพับริมเสื่อ  หรือชาวบ้านเรียกว่า  เม้น  เป็นการตกแต่งปลายตอกที่           เหลือก่อนจะเป็นผืนเสื่อที่สวยงาม    ทำได้มี  2   แบบ  คือ การพับกลับและแบบช่อริม
                   การพับกลับ   เป็นการพับปลายเส้นตอกกลับเข้ามาผืนเสื่อสานตามลายเดิม   ประมาณ   2-3  นิ้ว     แล้วตัดส่วนตอกที่เหลือออกตกแต่งให้สวยงาม
               การช่อริม  เป็นการพับปลายตอกที่เหลือให้คุมกันเองคล้ายกับการถัก  แล้วตัดส่วนตอกที่
เหลือออกให้สวยงาม
                ๔.  ขั้นหลังการผลิต
                ๑. เสื่อที่สานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะถูกเก็บเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกน้ำฝน เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย วิธีการเก็บรักษา  มี  ๒  แบบ  คือ เก็บเป็นม้วนๆ  และนำแต่ละผืนมาซ้อนๆ กันทับกันเป็นชั้นๆ  
                ๒. เมื่อได้ผืนเสื่อ ตามขนาดและสีสันที่ต้องการ แล้ว สามารถนำออกไปจำหน่าย หรือใช้งานตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งมีราคา ตั้งแต่  ๕๐ – ๑,๐๐๐ บาท   ตามขนาดรูปร่างหรือรูปแบบของลายต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้น


เทคนิคเคล็ดลับในการผลิต
ใช้ใบเตยขนาดพอดี ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป  ให้ความสำคัญกับการจักตอกให้เส้นมีขนาดเท่ากันการย้อมเส้นสีตอกจะต้องมีความสม่ำเสมอ  สีที่ย้อมต้องมีคุณภาพดีสีไม่ตก  และเมื่อย้อมเสร็จแล้วจะต้องตากแดดให้แห้งเพราะไม่เช่นนั้นเส้นตอกจะมีความชื้นและเป็นเชื้อรา ก็จะได้ผลิตภัณฑ์เตยปาหนันที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของลูกค้า







    บทที่  5
สรุป  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ

จาการศึกษาเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้   ในเรื่องภูมิปัญญาเตยปาหนัน   ทำให้เราได้ทราบถึงเรื่องราวที่เราไม่เคยทราบ   ได้รู้จักกับเตยปาหนันว่ามันมีรูปร่างอย่างไร   สามรถใช้งานในรูปแบบใดได้บ้างสามารถนำมาแปรรูปเป็นของใช้ได้   และมีความสวยงามมาก   ถือว่าเป็นสินค้าชิ้นหนึ่งของคนไทยที่เกิดจากฝีมือคนไทยชาวใต้ของเรา
เตยปาหนันถือว่าเป็นพืชตระกูลเดียวกับปาล์ม   สามารถนำส่วนต่างๆมาแปรรูปในลักษณะต่างให้เกิดความสวยงาม   เครื่องจักสานของภาคใต้ทางด้านชายฝั่งตะวันตก หรือชายฝั่งทะเลอันดามัน ถือได้ว่าเป็นเครื่องจักสานเฉพาะถิ่น มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองอยู่บ้าง ได้แก่  พวกเครื่องจักสานที่สานด้วยใบเตย  ใบลำเจียก  หรือปาหนัน  ซึ่งส่วนมากนิยมสานเสื่อ  สอบ  หรือกระสอบสำหรับใส่ข้าว หรือใส่พืชผลต่างๆ  โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่ มีการสานไว้ใช้ในครัวเรือน
การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน พื้นเมืองที่ทำกันมาแต่โบราณ  และมีทั่วไปในทุกภาคของประเทศ  คำว่า  เครื่องจักสาน  นั้น  โดยทั่วไปมักจะหมายถึงสิ่งที่ผลิตขึ้นด้วยมือ  โดยวิธี  จัก  สาน  ถัก  และทอ  เป็นหลัก   การเรียกเครื่องจักสาน ว่า  จักสานนั้น  เข้าใจว่าเป็นคำที่เรียกขึ้นตามวิธีการที่ทำให้เกิดเครื่องจักสานขึ้น นั่นเอง  เพราะเครื่องจักสานต่างๆ  จะสำเร็จเป็นรูปร่างที่สมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบขึ้นด้วยการจัก  การสาน  และการถัก  หรือการขัดกันของวัสดุที่ผ่านกระบวนการเตรียมด้วยการจัก  เพื่อแปรรูปวัสดุ หรือวัตถุดิบให้สอดคล้องกับการใช้สอยเสียก่อน

  
             ประโยชน์ที่ได้รับ
 1. ทำให้ทราบถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน
 2. ทำให้ทราบถึงวิธีการทำผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน
 3. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
 4. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ซึ่งหัตถกรรมพื้นบ้านของภาคใต้



            ข้อเสนอแนะ
                1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1  ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้  หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ  อนุรักษ์  และสืบสานต่อไป
1.2  ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้เข้ากับชุมชน
    2. ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1  ควรจะได้ศึกษา รูปแบบวิถีชีวิตว่าการประกอบอาชีพเป็นอย่างไร และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม